Recent Posts
Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran
Friday,October3,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.
กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ง่ายๆ จากแกนกระดาษทิชชู
อุปกรณ์
1.แกนทิชชู
2.กระดาษ
3.ไหมพรม
4.สีเมจิก
วิธีทำ
1.เตรียมแกนทิชชู 1 อัน ตัดแบ่งครึ่ง
2.เจาะแกนทิชชู ตรงกลาง ข้างล่างและข้างบน
3.นำไหมพรมมาร้อย จากข้างบนลงข้างล่าง ผูกปลายไหมพรม
4.ตัดกระดาษเป็นวงกลม วาดรูปตกแต่งให้สวยงาม
5.แปะรูปลงไปตรงกลางแกนทิชชู
วิธีการเล่น
1.นำไหมพรมไปคล้องคอ
2.ใช้มือดึงเชือกให้ดึง
3.จากนั้นใช้มือดึงขึ้นดึงลง
เทคนิคการประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.วิธีการทำไม่ซับซ้อน
2.ครูให้เด็กได้เสนอวิธีการเล่นด้วยตนเองโดยเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดด้วยตนเอง
3.เด็กเกิดการสังเกตและการเปรียบเทียบ
4.เด็กเกิดทักษะและกระบวนการคิด
บทความที่เพื่อนนำเสนอในวันนี้
การนำเสนอบทความต้องมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูจะปรับวิธีการนำเสนอและบอกเทคนิคการนำเสนอให้กับนักเรียน
1.การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย แหล่งที่มา ของนายวรมิตร สุภาพ
เครื่องดื่มสมุนไพรมีประโยชน์มากมายต่อสุภาพและร่างกาย และยังมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคต่างๆภายในร่างการทำให้สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และปลอดภัยจากโรคต่างๆ
คำถามที่ใช้ถามเพื่อน
1.ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการดื่มน้ำสมุนไพร
-เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและได้สังเกตการเปลี่ยนแปลง
2.บทความเรื่องการสอนเรื่องแสงและเงา แหล่งที่มา ของ น.ส.กัญญารัตน์ หนองหงอก
เด็กได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการสืบค้นหาความรู้ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล และทักษะการสื่อความหมาย ทักษะดังกล่าวเด็กสามารถเรียนรู้ผ่านเรื่องแสงและเงา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น การสังเกตขนาดของเงาที่มีความยาว สั้นไม่เหมือนกันในเวลาที่แตกต่างกัน เงาของวัตถุชนิดหนึ่งๆจะแสดงรูปทรงเหมือนวัตถุชนิดนั้น ฝึกทักษะจำแนก เช่น เงาใดคือต้นไม้ แมว เป็ด ก้อนหิน ใบไม้ หรือตัวเราเอง เมื่อเด็กได้รับการฝึกจะเกิดทักษะ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแสวงหาความรู้
คำถามที่ใช้ถามเพื่อน
1.ประโยชน์ของแสงที่สำคัญ คืออะไร?
-ช่วยในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต คน สัตว์
3.บทความเรื่องสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง แหล่งที่มา ของ น.ส.ณัฐชยา คงสัตย์
เด็กจะได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากการฝีกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องแรงโน้มถ่วง เริ่มจากการที่เด็กฝึกหัดตั้งคำถาม เป็นข้อสงสัยที่ต้องหาคำตอบจากการสืบค้น การปฏิบัติ จนได้ผลที่เป็นจริง ปรากฏอย่างเป็นเหตุเป็นผล และสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมตามวัย และในขณะที่ปฏิบัติด้วยตน เอง เด็กจะได้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ คือทักษะการสังเกต ทักษะจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวมีความสำคัญที่ทำให้เด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ตนเองต่อไป
คำถามที่ใช้ถามเพื่อน
1.ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน อะไรบ้าง
- ด้านร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสเรียนรู้
- ด้านอารมณ์และจิตใจ ได้ รับการตอบสนองความต้องการและความสนใจของเด็ก
- ด้านสังคมเด็กได้มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น รู้จักกฎ กติกา ระเบียบของสังคม
- ด้านสติปัญญา รู้จักการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจและได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง
ไฟฉายที่กล่าวมาเป็นไฟฉายชนิดที่ใช้มือถือส่องไฟ แต่ไฟฉายชนิดที่ใช้คาดศีรษะ จะมีสายคาดศีรษะซึ่งเป็นวัสดุที่ยืดตัวได้ ส่วนใหญ่จะใช้ยาง จากส่วนประกอบดังกล่าว ครูควรให้เด็กสัมผัสจับต้องรู้จักวัสดุที่นำมาทำไฟฉาย ทั้งลักษณะและคุณสม บัติที่นำมาประกอบ ได้แก่ แก้ว อลูมิเนียมหรือโครเมียม ยาง เป็นต้น เมื่อสังเกตผ่านประสาทสัมผัสแล้ว เด็กควรได้ฝึกการนำเสนอเรื่องไฟฉาย จากการเล่า วาดภาพ ถ่ายรูป
1.เหตุใดในตอนกลางคืนถึงใช้ไฟฉายส่องทาง
-เพราะเมื่อแสงไฟฉาฉายกระทบทาง แสงก็จะสะท้อนเข้าตาทำให้มองเห็น
สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (What will be further developed)
จากการเรียนวิทยาศาสตร์ในวันนี้ทำให้ได้เรียนเรียนรู้เทคนิคการทำงานประดิษฐ์ คือ ต้องมีวิธีการทำที่ง่ายๆไม่ซัซ้อนเด็กสามารถทำได้ การสอนเราต้องเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ทำความเข้าใจด้วยตนเองซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้เด็กจดจำได้นาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น