วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

MEDIA SCEIENCES

MEDIA SCEIENCES


NAME  ปืนยิงลูกบอล จากลูกโป่ง





อุปกรณ์ ( EQUIPMENT )

1.ลูกโป่ง

2.แกนกระดาษแข็ง

3.กรรไกร





วิธีทำ ( STEPS )

1.มัดจุกลูกโป่ง แล้วตัดบริเวณปลายลูกโป่งออกเล็กน้อย



2. กางลูกโป่งด้านที่ตัดก้นออก แล้วครอบลงไปบนแกนกระดาษแข็งที่เตรียมไว้




3.ทำลูกบอลยิง นำเทปกาวมาห่อติดกระดาษให้เป็นทรงกลม



เสร็จเรียบร้อยแล้ว ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง



สิ่งที่ได้รับจาการทำของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชิ้นนี้ คือ ถ้าเรากางลูกโป่งให้ดึงแล้วนำไปครอบแกนกระดาษจะทำให้ลูกโป่งไม่หลุดออกเวลายิง ส่วนลูกบอลที่นำมายิง ถ้าลูกบอลที่มีขนาดเล็กเวลาที่เราออกแรงดึงลูกโป่งให้ดึงแล้วปล่อยจะทำให้ลูกบอลกระเด็นไปได้ไกล แต่ถ้าลูกบอลที่มีขนาดใหญ่เวลาเราออกแรงดึงลูกโป่งอย่างเต็มที่และปล่อยทำให้ลูกบอลกระเด็นไปได้ไม่ไกล และอาจทำให้ลูกโป่งที่ดึงขาดได้




                                      






Lesson10


Recent Posts


Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

Friday,October18,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.

NOTE : เรียนชดเชย


กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม



เนื้อหา (Material)




สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What will be further developed ) 

    ได้รับความรู้ในเรื่องของการเชื่อมโยงเนื้อหาจาก หัวข้อใหญ่ออกเป็นหัวข้อย่อย ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายและเสนอเทคนิคต่าง ให้ง่ายขึ้น และให้คิดถึงสิ่งที่มีอยู่จริง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สามารถนำไปแก้ไขงานของตนเองที่ผิดพลาดและปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ประเมินผล ( Evalation )

ประเมินตนเอง : การเรียนวันนี้ได้เรียนรู้เทคนิค วิธีการเขียนการสอน ในหัวข้อต่างๆอย่างเต็ที่และได้รับความรู้ในเรื่องของการสอนและการเชื่อมโยงแผนการสอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจรับฟังอาจารย์อธิบายการเขียนแผนอย่างตั้งใจ และช่วยกันตอบคำถามในห้องเรียนอย่างเต็มที่ 


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์บอกเทคนิคการทำสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างดีมากและบอกแนวคิดในการประยุกต์ปรับปรุงแก้ไขของเล่นให้เกิดของเล่นชิ้นใหม่ไม่ซ้ำกันโดยพัฒนาจากเศษวัสดุที่เหลือใช้ตามธรรมชาติ นอกจากนี้อาจารย์ยังบอก วิธีการ ขั้นตอนต่างๆ และรายละเอียดของการเขียนแผน ว่ามีเทคนิคอะไรบ้างควรแก้ไขตรงไหน และควรพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างไร โดยอาจารย์ได้เสนอแนวคิดอย่างดีมาก 




วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Lesson 9

Recent Posts


Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

Friday,October17,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.


หลักการเขียนแผนการเรียนรู้



การเรียนการสอนต้องเน้นทักษะ ----> เด็กได้ลงมือกระทำ ได้ลองผิดลองถูก

เกมส์การศึกษา ------> 1.จับคู่ภาพ
                                  2.จิกซอ (ภาพตัดต่อ)
                                  3.เรียงลำดับ
                                  4.ออสโต (ศึกษารายละเอียดของภาพ)
                                  5.ความสัมพันธ์ 2 แกน


กิจกรรมเสริมประสบการณ์  ----------> 1.เล่านิทาน
                                                        2.การอธิบาย
                                                        3.การแสดงพฤติกรรม


ประสบการณ์สำคัญ  ------------------>  1.วิทยาสศาตร์  คือ การสังเกต
                                                         2.คณิตศาสตร์ คือ การคิด , ด้านสติปัญญา ภาษา การได้แสดงความคิด
                                                         3.สังคมศึกษา คือ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น , การแสดงความคิดเห็น
                                                         4.ร่างกาย คือ การเคลื่อนไหวร่างกาย

การนำเข้าสู่บทเรียน  ------------------> 1.ร้องเพลง
                                                         2.ภาพ ( ภาพตัดต่อ,ภาพปริศนา )
                                                         3.นิทาน
                                                         4.คำคล้องจอง

การโยงไปหาขั้นสอน จะใช้เทคนิคการตั้งคำถาม เช่น นอกจากที่ในเพลงเด็กๆยังรู้จักกะหล่ำปลีแบบไหนบ้าง 

การประเมิน  --------------> การสังเกต + การฟังการตอบคำถาม ( เครื่องมือที่ใช้คือแบบสังเกต )

การบูรณาการ -------------> เน้นบูรณาการทางสังคมในแง่ของคุณธรรมจริยธรรม



สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What will be further developed ) 

   จะนำความรู้ในเรื่องการเขียนแผนการเรียนรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ ทั้งเทคนิคและวิธีการต่างๆ การทำกิจกรรมให้เด็ก การประดิษฐ์ของเล่นให้เด็ก รวมไปถึง การสอนเด็กในแต่ละวันซึ่งความรู้ที่ได้รับในวันนี้เป็นเทคนิคที่ดีมาก สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างดี และยังทำให้การสอนน่าสนใจ เด็กอยากที่จะทำกิจกรรม อยากที่จะเรียนมากขึ้น

ประเมินผล ( Evalation )

ประเมินตนเอง : เข้าใจหลัการเขียนแผนการเรียนรู้วิธีการต่างๆมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้รับกับมาปรับปรุงในแผนงานของตนเอง ในเรียนของสิ่งประดิษฐ์ก็ทำให้คำนึงถึงการใช้สิ่งของวัสดุเหลือใช้มากขึ้น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนในกลุ่มช่วยกันเรียบเรียงคำกลุ่มของแต่ละคน และเขียนลงในแบบ มีการทำงานที่เป็นระบบมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยกันคิดแผน แก้ไขงานที่อาจารย์สั่งให้แก้ และช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของแผนงาน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายวิธีการเขียนแผนแต่ละหัวข้อได้อย่างละเอียดและชัดเจน มีการยกตัวอย่างในแต่ละหัวข้อ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น และแก้ไขข้อผิดของแผนงานให้เป็นอย่างดีพร้อมทั้งบอกเทคนิคและวิธีการต่างๆในการทำสื่อที่สอดคล้องกับแผนการเรียนรู้ของกลุ่ม






Lesson 8

Recent Posts


Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

Friday,October10,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.



Today there is not teaching of Midterms.





Lesson 7

Recent Posts


Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

Friday,October3,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.


กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ง่ายๆ จากแกนกระดาษทิชชู

อุปกรณ์

1.แกนทิชชู
2.กระดาษ
3.ไหมพรม
4.สีเมจิก

วิธีทำ

1.เตรียมแกนทิชชู 1 อัน ตัดแบ่งครึ่ง

 



2.เจาะแกนทิชชู ตรงกลาง ข้างล่างและข้างบน




3.นำไหมพรมมาร้อย จากข้างบนลงข้างล่าง ผูกปลายไหมพรม



4.ตัดกระดาษเป็นวงกลม วาดรูปตกแต่งให้สวยงาม



5.แปะรูปลงไปตรงกลางแกนทิชชู



วิธีการเล่น

1.นำไหมพรมไปคล้องคอ 
2.ใช้มือดึงเชือกให้ดึง
3.จากนั้นใช้มือดึงขึ้นดึงลง



เทคนิคการประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.วิธีการทำไม่ซับซ้อน
2.ครูให้เด็กได้เสนอวิธีการเล่นด้วยตนเองโดยเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดด้วยตนเอง
3.เด็กเกิดการสังเกตและการเปรียบเทียบ
4.เด็กเกิดทักษะและกระบวนการคิด

บทความที่เพื่อนนำเสนอในวันนี้

การนำเสนอบทความต้องมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูจะปรับวิธีการนำเสนอและบอกเทคนิคการนำเสนอให้กับนักเรียน

1.การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย  แหล่งที่มา ของนายวรมิตร สุภาพ

   เครื่องดื่มสมุนไพรมีประโยชน์มากมายต่อสุภาพและร่างกาย และยังมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคต่างๆภายในร่างการทำให้สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และปลอดภัยจากโรคต่างๆ

คำถามที่ใช้ถามเพื่อน

1.ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการดื่มน้ำสมุนไพร
-เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและได้สังเกตการเปลี่ยนแปลง



2.บทความเรื่องการสอนเรื่องแสงและเงา  แหล่งที่มา  ของ น.ส.กัญญารัตน์  หนองหงอก

     เด็กได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการสืบค้นหาความรู้ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล และทักษะการสื่อความหมาย ทักษะดังกล่าวเด็กสามารถเรียนรู้ผ่านเรื่องแสงและเงา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น การสังเกตขนาดของเงาที่มีความยาว สั้นไม่เหมือนกันในเวลาที่แตกต่างกัน เงาของวัตถุชนิดหนึ่งๆจะแสดงรูปทรงเหมือนวัตถุชนิดนั้น ฝึกทักษะจำแนก เช่น เงาใดคือต้นไม้ แมว เป็ด ก้อนหิน ใบไม้ หรือตัวเราเอง เมื่อเด็กได้รับการฝึกจะเกิดทักษะ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแสวงหาความรู้

คำถามที่ใช้ถามเพื่อน
1.ประโยชน์ของแสงที่สำคัญ คืออะไร?
-ช่วยในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต คน สัตว์



3.บทความเรื่องสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง   แหล่งที่มา  ของ น.ส.ณัฐชยา คงสัตย์

เด็กจะได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากการฝีกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องแรงโน้มถ่วง เริ่มจากการที่เด็กฝึกหัดตั้งคำถาม เป็นข้อสงสัยที่ต้องหาคำตอบจากการสืบค้น การปฏิบัติ จนได้ผลที่เป็นจริง ปรากฏอย่างเป็นเหตุเป็นผล และสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมตามวัย และในขณะที่ปฏิบัติด้วยตน เอง เด็กจะได้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ คือทักษะการสังเกต ทักษะจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล ทักษะดังกล่าวมีความสำคัญที่ทำให้เด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ตนเองต่อไป

คำถามที่ใช้ถามเพื่อน

1.ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน อะไรบ้าง
  • ด้านร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสเรียนรู้
  • ด้านอารมณ์และจิตใจ ได้ รับการตอบสนองความต้องการและความสนใจของเด็ก
  • ด้านสังคมเด็กได้มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น รู้จักกฎ กติกา ระเบียบของสังคม 
  • ด้านสติปัญญา รู้จักการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจและได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง


4.สอนลูกเรืองไฟฉาย   แหล่งที่มา  ของน.ส.สุนิสา บุญดารวม


   ไฟฉายที่กล่าวมาเป็นไฟฉายชนิดที่ใช้มือถือส่องไฟ แต่ไฟฉายชนิดที่ใช้คาดศีรษะ จะมีสายคาดศีรษะซึ่งเป็นวัสดุที่ยืดตัวได้ ส่วนใหญ่จะใช้ยาง จากส่วนประกอบดังกล่าว ครูควรให้เด็กสัมผัสจับต้องรู้จักวัสดุที่นำมาทำไฟฉาย ทั้งลักษณะและคุณสม บัติที่นำมาประกอบ ได้แก่ แก้ว อลูมิเนียมหรือโครเมียม ยาง เป็นต้น เมื่อสังเกตผ่านประสาทสัมผัสแล้ว เด็กควรได้ฝึกการนำเสนอเรื่องไฟฉาย จากการเล่า วาดภาพ ถ่ายรูป

คำถามที่ใช้ถามเพื่อน


1.เหตุใดในตอนกลางคืนถึงใช้ไฟฉายส่องทาง
-เพราะเมื่อแสงไฟฉาฉายกระทบทาง แสงก็จะสะท้อนเข้าตาทำให้มองเห็น


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา (What will be further developed)

   จากการเรียนวิทยาศาสตร์ในวันนี้ทำให้ได้เรียนเรียนรู้เทคนิคการทำงานประดิษฐ์ คือ ต้องมีวิธีการทำที่ง่ายๆไม่ซัซ้อนเด็กสามารถทำได้ การสอนเราต้องเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ทำความเข้าใจด้วยตนเองซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้เด็กจดจำได้นาน


ประเมินผล (Evaluation)



ประเมินตนเอง : ได้เรียนรู้เทคนิคและกระบวนการต่างๆในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้รู้เทคนิคการสอนที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งเทคนิคต่างๆสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้จริงและทำให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่างๆที่ดีขึ้น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่ละคนสามารถสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของตนเองได้อย่างสวยงาน เพื่อนทุกคนมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบ่งปันสิ่งของใช้ร่วมกัน และคอยสอนเทคนิคในการเล่นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้น

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคในการนำเสนอของเล่นได้อย่างน่าสนใจ และมีเทคนิคคือให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองได้แก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตนเอง โดยครูจะไม่บอกวิธีการเล่น ให้เด็กคิดค้นวิธีการเล่นด้วยตนเองและนำมาแบ่งปันวิธีการเล่นกับเพื่อน และดูว่าวิธีไหนเหมาะสมที่สุด