วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

Lesson 4

Recent Posts

Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

4th
Friday,September 12,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.



เนื้อหา (The content) ที่เรียนในวันนี้






เพื่อนนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์



 
1.บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

บทความของ นางสาวนฤมล   เส่งเซ้ง

โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ 
หลักการและความสำคัญ     วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย

2.บทความเรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง

บทความของ นางสาววรรณนา เอี่ยมวิสุทธิสาร



   ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยควรได้รับการพัฒนาและส่งเสริม ทั้ง7 ทักษะ คื
1.ทักษะการสังเกต (Obervation skills)
2.ทักษาการจำแนกประเภท (Classification skills)
3.ทักษะการวัด (Measurement skills)
4.ทักษะการสื่อความหมาย (Interpretive skills)
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space skills)
7.ทักษะการคำนวณ (Numeracy skills)
การทดลองไข่เอ่ยจงนิ่มอุปกรณ์   1.แก้ว   1 ใบ
                2ไข่ไก่     1ฟอง
                3.น้ำส้มสายชู
วิธีการทดลองนำไข่ไก่ที่เตรียมใส่ลงไปในแก้วแล้วเทน้ำส้มสายชูใส่ลงไปให้ท่วมไข่ ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน แล้วเทน้ำส้มสายชูออก จากน้ำลองจับไข่ไก่ดู
สรุปผลการทดลองที่ไข่ไก่นิ่มเป็นเพราะน้ำส้มสายชูมีสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้จึงทำให้เปลือกไข่มีลักษณะนิ่ม เพราะไข่ในเปลือกไข่มีแคลเซียม

3.บทความแนวทางสอนคิด เติม"วิทย์"ให้เด็กอนุบาล


บทความของ นางสาวอริสรา  ภูษิต



      ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"              ทั้งนี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
       

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา

   จากบทความทั้ง 3 เรื่องที่เพื่อนแต่ลงคนได้นำเสนอในวันี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เพราะทุกเรียนเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวสามารถพัฒนาความรู้ที่ได้รับได้ด้วยตนเอง และสามรถนำไปเผยแผ่ให้ผู้ปกครองได้รับความรู้ และเด็กสามารถเรียนรู้ไปพร้อมๆกับครูได้เป็นอย่างดี




ประเมินผล



ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเพื่อนำเสนอบทความและสามารถสรุปได้ว่าเพื่อนแต่ละคนพูด   บทความอะไรบ้าง ร่วมทำกิจกรรมตอบคำถามในห้องเรียนอย่างกระตือรือร้นและตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายสรุปบทความอย่างตั้งใจ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่มาเรียนตรงต่อเวลา มีเฉพาะบางคนที่มาเรียนสายแต่เมื่อเข้ามาในห้องเรียนเพื่อนทุกคนจะทั้งใจฟังเพื่อนและให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการตอบคำถามอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีการสรุปบทความที่เพื่อนออกไปนำเสนอให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และบอกแนวทางการหาบทความที่ถูกต้องให้ และบอกเทคนิคการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนวิธีการพูดแนะนำตัวที่ถูกต้อง 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น