วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

Lesson 1


         

Recent Posts

Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran


Friday,August 22,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.



          วันนี้เรียนเป็นครั้งแรกของการเปิดเรียน ภาคเรียนที่1 ปีการศึกาา2557 อาจารย์ได้แนะแนว
   -การแต่งกายมาเรียนทุกครั้งต้องแต่งกายให้เรียบร้อย 
   -รองเท้าต้องวางไว้นอกห้องให้เรียบร้อย
   -การเรียนต้องมาเรียนตรงเวลา หรือสายไม่เกิน 10 นาที 
   -มารยาทในชั้นเรียน ต้องให้เกียรติอาจารย์ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน
   -แฟ้มสะสมงาน อาจารย์ได้เสนอให้ทำเป็นบล็อกเกอร์ เพราะสะดวก ประหยัด และสามารถเรียกใช้งานได้ทันที 

   

อาจารย์นำเสนอการทำบล็อกเกอร์ที่ดีความประกอบไปด้วยอพไรบ้าง?

           
            1.ต้องสรุปเนื้อหาที่เรียนในวันนั้นให้ได้
            2.ต้องจับใจความในแต่ละครั้งว่าอาจารย์เทคนิคอะไรบ้าง
            3.สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนได้อย่างไรบ้าง?

        
     
ประยุกต์ใช้อย่างไร?

   
     การเรียนในวันนี้ถือเป็นการแนะแนวและบอกข้อตกลงร่วมกันในชั้นเรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับ ทุกรายวิชา เนื่องจาก เรื่องมารยาท การแต่งกาย เราก็ควรทำให้เคยชินเป็นนิสัยอยู่ตลอดเวลา เพราะอนาคตเราเป็นครูเราต้องสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กได้ แบบอย่างที่ดีสามารถทำให้มีคนดีเพื่อขึ้นในสังคม อีกมากมาย อย่างคำที่ว่า ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ แม่พิมพ์เป็นแบบไหนผลงานที่ได้รับก็จะเป็นเหมือนกับแม่พิมพ์แบบนั้น 
      





บทความของนเอง


สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena)
ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์ระดับ: ก่อนอนุบาล อนุบาลหมวด: เกี่ยวกับอนุบาล
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นสาระที่ควรรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จัดอยู่ในสาระทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความเหมาะสมในการนำมาจัดให้เด็กได้เรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้ประโยชน์ ดังนี้
การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติช่วยฝึกฝนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เช่น
ทักษะการสังเกต
ทักษะการจำแนกเปรียบเทียบ
ทักษะการค้นพบ
ทักษะการสรุปข้อมูล
ทักษะการปฏิบัติ
 การจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กรู้จักปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในระดับปฐมวัยนั้น ครูจะจัดกิจกรรมง่ายๆ ไม่มีความซับ ซ้อน และให้เด็กได้เห็น สังเกต และลงมือปฏิบัติจริง จนสามารถสรุปองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆได้ด้วยตนเอง โดยครูจัดให้เด็กได้ทดลองทางวิทยาศาสตร์ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ อาจให้เด็กได้เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรืออาจจัดอุปกรณ์ทดลองไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมเสรี 

-ทำให้เด็กได้พัฒนาและสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ เป็นคนที่มีความสามารถในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ ทุกอย่างที่ต้องการรู้จะเกิดจากการลงมือกระทำและพิสูจน์ให้เห็น

-ทำให้เด็กมีเหตุผลในการกระทำสิ่งต่างๆ และสามารถใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทั้งในส่วนตนและส่วนรวมได้ เช่น การจัดกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีความเข้าใจและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเกิดรุ้งกินน้ำจากการเป่าฟองสบู่ การเกิดกลางวัน กลางคืน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น