วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


Thai Teacher TV


เรื่อง ผลไม้แสนสนุก 

โดย  คุณครูไพพร  ถิ่นทิพย์   โรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร)


คลิก VDO ผลไม้แสนสนุก



สรุป 

        กิจกรรมผลไม้แสนสนุก ของคุณครูไพพร ถิ่นทิพย์ โรงเรียนบ้านถ่ิน (ถิ่นวิทยาคาร) ใช้วิธีการพาเด็กไปศึกษาสถานที่จริง โดยไปศึกษาผลไม้ที่ตลาด โดยจะได้บูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ เข้าไปในการทำกิจกรรมครั้งนี้ โดยครูบูรณาการ 3 กิจกรรม มีกิจกรรมการเคลื่อนไหว เข้าจังหวะโดยครูให้เด็กท่องคำคล้องจอง เกี่ยวกับผลไม้ตามครู แล้วเคลื่อนไหวอิสระไปตามใจชอบของเด็ก ใช้คำคล้องจอง จ้ำจี้ผลไม้ ได้ดูการชั่งกิโลของแม่ค้า แล้วเมื่อกลับเข้าห้อง ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมปั้นผลไม้ โดยใช้ดินน้ำมัน และวาดรูปผลไม้ ฉีกตัดปะกระดาษ และระบายสีภาพ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ครบถ้วน 




Lesson 12

Recent Posts


Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

Friday,November 6,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.


The Instructor


Group 1 : หน่วยกบ


                                            ส่วนประกอบของกบ


ขั้นนำ : บอกส่วนประกอบของกบ และความแตกต่างระหว่างกบนา กับ กบบลูฟร็อก

ขั้นสอน : 1.ร้องเพลงกบ 
                2.ครูมีรูปภาพกบนา กับ กบบลูฟร็อก มาให้เด็กดูและให้เด็กบอกระหว่างความแตกต่างของกบทั้ง 2 ชนิด จากนั้นครูเขียนตามที่เด็กบอกลงในแผ่นชาร์ต

ขั้นสรุป : ครูและเด็กช่วยกันอ่านความแตกต่างของกบ 2 ชนิด ร่วมกัน


Group 2 : หน่วยกะหล่ำปลี


ประโยชน์ และ ข้อควรระวัง


ขั้นนำ : นำเข้าสู่บทเรียนโดยการปรบมือ เพื่อให้เด็กมีสมาธิและมีความพร้อมที่จะเรียนรู้

ขั้นสอน : ร้องเพลงกะหล่ำปลี และ เล่านิทานเรื่องคนสวนขายกะหล่ำปลี จากนั้นครูถามประโยชน์และข้อควรระวังจากกะหล่ำปลี จากเด็กๆ แต่ครูมีการพูดนำให้เด็กได้คิดก่อน

ขั้นสรุป : ครูและเด็กร่วมกันสรุปโทษของกะหล่ำปลี และเขียนลงในกระดาษหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งอ่านครูอ่านไปพร้อมๆกับเด็ก


Group 3 : หน่วยส้ม



ประโยชน์ของส้ม



 ขั้นนำ : ครูร้องพูดคำคล้องจอง เพื่อเก็บเด็ก


ขั้นสอน : ครูสอนการทำน้ำส้มคั่น โดยครูเริ่มจากแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กรู้จักทีละอย่าง จากนั้นครูสอนวิธีการทำน้ำส้มคั่นทีละขั้นตอน 



ขั้นสรุป : ครูขออาสาสมัครเด็กที่อยากจะลองทำน้ำส้มคั่นออกมาทำหน้าห้องเรียน และให้แบ่งเพื่อนชิม





Group 4 : หน่วยดอกมะลิ



Cooking



ขั้นนำ : ครูพูดคำคล้องจองดอกมะลิ เพื่อเก็บเด็ก

ขั้นสอน : ครูบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ดอกมะลิทอด และบอกวิธีการทอดดอกมะลิ


ขั้นสรุป : ครูขออาสาสมัครเด็ก ที่อยากลองทำดอกมะลิทอดออกมาทำหน้าชั้นเรียน และแบ่งเพื่อนๆในห้องชิม




Group 5 : หน่วยไก่



วิธีการเลี้ยงดูไก่



ขั้นนำ : ครูพูดคำคล้องจอง และให้เด็กท่องตาม

ขั้นสอน : ครูมีภาพไก่มาให้เด็กดู ให้เด็กได้ทำความรู้จัก และถามคำถามเรื่องไก่แก่เด็กว่าไก่ กินอะไรเป็นอาหาร ไก่อาศัยอยู่ที่ใด เพื่อเป็นการให้เด็กได้ใช้สมองในการคิด และยังทำให้เด็กกล้าแสดงออก




ขั้นสรุป : ครูบอกวิธีการดูแลเลี้ยงดูไก่แก่เด็ก และให้เด็กออกมาเต้นเพลงไก่เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ



Group 6 : หน่วยปลา


Cooking



  ขั้นนำ : ครูใช้การปรบมือ เพื่อเก็บเด็ก

ขั้นสอน : ครูสอนเด็กทำ ปลาทูทอด โดยครูจะบอกอุปกรณ์ และวิธีการทำปลาทูทอดแก่เด็กๆ




ขั้นสรุป : ครูขออาสาสมัครเด็ก 1 คน เพื่อที่จะออกมาทำปลาทูทอดกับครู และนำไปแบ่งให้เพื่อนๆชิม


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What will be further developed ) 
 



     ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้ในเรื่องของการเขียนแผนการเรียนรู้ทั้งสัปดาห์ของเด็กปฐมวัย และการนำแผนการเรียนรู้ที่เขียนไปปฏิบัติใช้กับเด็กจริงๆ ทำให้รู้ว่าเด็กต้องการที่จะเรียนรู้แบบใด และเทคนิคต่าง ทั้งการเก็บเด็ก การนำเข้าสู่บทเรียน การสอน และการสรุปการสอนให้เเก่เด็ก สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้เป็นอย่างดี ทั้งในตอนออกฝึกสอนประสบการณ์วิชาชีพ และในอนาคตการเป็นครู ซึ่งพื้นฐานการนำเข้าสู่บทเรียนเป็นขั้นที่สำคัญมาก เพราะถ้าขั้นนำน่าสนใจจะทำให้เด็กอยากที่จะเรียนต่อไป ก็เหมือนกับการที่เราจะเลือกดูหนังสักเรื่องนึงถ้าหนังเรื่องนั้นมีการโฆษณาที่น่าสนใจ ก็ทำให้เราอยากที่จะดูเนื้อเรื่องถัดไป เด็กก็เหมือนกันถ้าครูมีการนำเข้าสู่บทเรียนที่น่าสนใจก็จะทำให้เด็กตั้งใจเรียนมากขึ้น ส่วนขั้นสอน ในส่วนนี้ถ้าครูมีเนื้อหาและวิธีีการสอนที่น่าสนในก็จะทำให้เด็กตั้งใจเรียน เช่น ครูมีการนำสื่อที่เป็นของจริงมาให้เด็กได้ดูได้สัมผัส เด็กก็จะตื่นเต้นและสนใจที่จะเรียน ส่วนขั้นสรุปการสอน ขั้นนี้ครูสามารถสรุปไปพร้อมๆกับเด็ฏได้ โดยการที่ดูให้เด็กออกมาพูดหน้าชั้นเรียน หรืออกมาวาดภาพเรื่องที่เรียนไปก็ได้ ซึ่งเทคนิคต่างๆที่อาจารย์สอนในวันสามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในอนาคตได้เป็ฯอย่างดี



ประเมินผล ( Evalation )



ประเมินตนเอง : วันนี้ตั้งใจในการนำเสนอแผนงานอย่างเต็มที่ มีการนำสื่อต่างๆที่ใช้ในแผนการเรียนมาใช้ประกอบในการสอน นำแผนที่อาจารย์ให้แก้ไขกลับไปแก้ไขให้เรียบร้อย บรรยากาศในห้องเรียนดูสนุกสนานมากเพราะเพื่อนๆทุกคนได้ร่วมในกิจกรรมที่เพื่อนทุกกลุ่มออกมานำเสนอ ทั้งในเรื่องของการเต้น หรือการทำ Cooking เพื่อนๆทุกคนสนใจ ช่วยกันทำอย่างเต็มที่ ในห้องเรียนเลยดูมีความสุขและสนุกสนานไ ไม่ตึงเครียดและไม่กดดันจนเกินไป 




ประเมินเพื่อน :
เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังเพื่อนๆทุกกลุ่มนำเสนองาน และให้ความร่วมมือเมื่อเพื่อนขออาสาสมัครตัวแทนออกไปทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อนๆทุกคนไม่เกลี้ยงกันออก แต่ทุกคนออกด้วยความเต็มใจและอยากที่จะออกจริงๆ บรรยากาศการในห้องเรียนเลยเป็นแบบที่ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสุขไปกับการเรียน


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆที่ดีมากให้กับทุกกลุ่ม ซึ่งข้อเสนอแนะต่างๆสามารถนำไปปรับปรุงและประยุกต์ในกับการเขียนแผนการสอนทุกวิชา ไม่ใช่แต่วิชาวิทยาศาสตร์อย่างเดียว นอกอาจารย์นี้อาจารย์ยังบอกวิธีการสอนเด็กให้น่าสอนใจ การนำเข้าสู่บทเรียนในแต่ละวัน การสอนเนื้อหา การทำCooking ตอนจนบุคลิกในการสอนของครู ซึ่งวิธีการทุกอย่างจำเป็นและสำคัญมาที่ครูต้องรู้และต้องปฏิบัติให้ได้ อาจารย์ทุ่มเทและเป็นห่วงนักศึกษาทุกคนมากจริงๆ




วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Lesson11


Recent Posts


Science Experiences Manangement for Early Childhood
Teacher  Jintana Suksamran

Friday,October24,2557.
Time 13:00 to 16.40 pm.



เนื้อหา (The content) ที่เรียนในวันนี้ เพื่อนนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์





Science toy


จรวดจาหลอดกาแฟ


นักดำน้ำ


หนูปั่นจักร




ตุ๊กตาล้มลุก



จั๊กจั่น


ปืนจักร


รถกระป๋อง


ปลาว่ายน้ำ


ป๋องแป๋ง



กระป๋องส่งเสียง


โมบายหรรษา


รถกระดาษ



My Science toy


ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง



    ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ ( Science ) คือ เมื่อเราออกแรงดึงลูกโป่งแรงที่ใช้ในการดึง เรียกว่า พลังงานศักย์ จากนั้นพลังงานศักย์ที่สะสมอยู่ในลูกโป่ง จะค่อยๆเปลี่ยนไปเป็น พลังงานจลน์ เมื่อเราปล่อยมือที่ดึงลูกโป่งทำให้ลูกบอลกระเด็นออกไปข้างหน้า แต่จะไปได้ไกลหรือไม่ขึ้นอยู่กับลูกบอลที่ใช้ยิง ถ้าลูกบอลที่มีขนาดเล็กจะทำให้กระเด็นไปไกล แต่ถ้าลูกบอลมีขนาดใหญ่จะกระด็นไปได้ไม่ไกล บางครั้งอาจทำให้ลูกโป่งที่ใช้ในการยิงฉีกขาดได้


หลักการที่ใช้ในการเลือกแผนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย




สิ่งที่จะนำไปพัฒนา ( What will be further developed ) 

   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้เรื่องการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และการเขียนแผนการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้เราได้เรียนรู้เทคนิคในการทำของเล่นแต่ละชิ้นต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง และควรมีหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน ซึ่งจะทำให้เด็กได้พัฒนาการเรียนรู้ให้ดีดีขึ้น ส่วนการเขียนแผน เราต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านร่างกาย คือ การเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว                2.ด้านอารมณ์ คือ เกิดความสุข ความสนุกสนานในการเรียนรู้ และเกิดความสุขในการชื่นชมผลงานของตนเอง 3.ด้านสังคม คือ ได้เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ได้เรียนรู้ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน 4.ด้านสติปัญญา (ภาษา/ความคิด) คือ ได้อธิบาย เปรียบเทียบ เรียนรู้ความเหมือนและความต่าง บอกความสมดุลย์ของสิ่งต่างๆได้ บอกหมวดหมู่ของสิ่งของได้  ซึ่งความรู้ต่างๆสามารถนำไปพัฒนาให้ดีขึ้นและนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างดีมาก 


ประเมินผล ( Evalation )


ประเมินตนเอง : วันนี้ไปค่อยสบายทำให้ร่างกายไม่ค่อยมีความพร้อมเท่าที่ควร แต่ก็พยายามนำเสนอของเล่นออกมาอย่างเต็มความสามารถที่สุด และตั้งในฟังที่อาจารย์อธิบายแผนการสอน และนำกลับมาแก้ไขให้ดีขึ้นและนำไปส่งอาจารย์ตรวจ ส่วนบรรยากาศในชั้นเรียนวันนี้มีความสนุกสนานมาก เพราะเพื่อนทุกคนหาเทคนิคต่างๆในการนำเสนอของเล่นของตนเอง แต่ละคนมีการนำเสนอที่แตกต่างกันและน่าสนใจมาก


ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีเทคนิคที่แตกต่างกันในการนำเสนอผลงานของตนเอง และเพื่อนทุกคนให้ความช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของการตอบคำถามอาจารย์ถ้าเพื่อนตอบไม่ได้ก็จะมีเพื่อนช่วยกันตอบ ซึ่งเป็นการเรียนที่มีความสุข และสนุกมาก ไม่ตึงเครียดเกินไป



ประเมินอาจารย์ :  ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง หลังจากนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็จะถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษา และบอกเทคนิคต่างๆที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นเทคนิคง่ายๆและเหมาะกับเด็กปฐมวัย นอกจากนี้อาจารย์ได้ตรวจแผนการสอนของแต่ละกลุ่มพร้อมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดให้ อาจารย์ใส่ใจและให้ความช่วยเหลือนักศึกษาเป็นอย่างดี